ลักษณะสำคัญ
Rogers ได้พัฒนาแนวคิดแห่งการเรียนรู้ตามทฤษฎีมนุษย์นิยมว่าจะเรียนได้ดีในบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมที่สบาย (Comfortable) ไม่มีการคุกคาม (Threatened) จากองค์ประกอบภายนอก ส่วนครูทำหน้าที่อำนวยความสะดวก (Facilitator)
หลักกการหรือความเชื่อของทฤษฎี คือ
1. มนุษย์มีธรรมชาติแห่งความกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้
2. มนุษย์มีสิทธิในการต่อต้านหรือไม่พอใจในผลที่เกิดขึ้นจากสิ่งต่างๆ แม้สิ่งนั้นจะได้รับการยอมรับว่าจริง
3. การเรียนรู้ที่สำคัญที่สุดของมนุษย์คือการที่มนุษย์มีการเปลี่ยนแปลงแนวความคิด หรือมโนทัศน์ของตนเอง
Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีมนุษย์นิยมจากความเชื่อที่ว่า มนุษย์ไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสิ่งเร้าภายนอก หรือไม่ได้ต้องการเรียนรู้เนื่องมาจากสัญชาติญาณของจิตไร้สำนึก แต่มนุษย์ต้องการที่เรียนรู้เพื่อก้าวไปสู่การเป็นคนที่สมบูรณ์ (Fully Functioning Person) ซึ่ง Maslow ใช้คำว่า Self-actualizing Person
Maslow ได้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับลำดับขั้นตอนของความต้องการของมนุษย์ไว้ 5 ขั้นคือ
1. ความต้องการทางกายภาพ (Physiological needs) คือความต้องการในการดำรงชีวิต เช่น ความต้องการอาหาร อากาศ น้ำ และอุณหภูมิ เป็นต้น
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Need) คือความต้องการที่จะมีความมั่นคงหรือปลอดภัยในชีวิต
3. ความต้องการความรัก ความชอบ และการเป็นเจ้าของ (Need of Love, Affection and Belongingness)
4.ความต้องการความภาคภูมิใจ (Need for Esteem) คือความต้องการที่จะมีความภาคภูมิใจในตนเองและความภาคภูมิใจที่จะได้รับจากผู้อื่นด้วยการเคารพตนเองและได้รับความเคารพจากผู้อื่น
5. ความต้องการเป็นมนุย์ที่สมบูรณ์ (Need for Self-Actualization) คือความต้องการที่จะเป็น (Be) หรือ ทำ (Do) ในสิ่งที่บุคคลเกิดมาให้สมบูรณ์ หรือไปถึงจุดสูงสุด
ส่วนของ Chapman มีหลักการคล้ายๆ กันกับ Maslow แต่ได้อธิบายเพิ่ม ขึ้นมา คือ
ขั้นที่ 5 ความต้องการทางสติปัญญา (Cognitive Need) คือความต้องการในการเรียนรู้และสามารถในการตีความหมาย
ขั้นที่ 6 ความต้องการทางสุนทรียภาพ (Aesthetic Needs) คือความต้องการความซาบซึ้งใจในความงาน ความสมดุล และความสมบูรณ์แบบ
ขั้นที่ 7 ความต้องการในการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
ขั้นที่ 8 ความต้องการในการเป็นมนุษย์เหนือมนุษย์ (Transcendence Needs) คือความต้องการที่เป็นผู้ช่วยเหลือผู้อื่นให้พัฒนาไปถึงขีดสูงสุดและเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
การประยุกต์ใช้
ครูผู้สอน1. ครูควรเป็นคนใจกว้าง ไม่ยึดติดกับความคิด หรือความเชื่อของตนเอง
2. ครูควรรับฟังผู้เรียนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับความรู้สึก
3. ให้ความสำคัญกับผู้เรียนเท่ากับความสำคัญของเนื้อหาที่นำมาสอน
4. ยินดีรับฟังข้อเสนอแนะทั้งทางบวกและทางลบ
5. กระตุ้นให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนรู้ของตนเอง
6. จัดการเรียน กิจกรรม สื่อการเรียนการสอนให้หลากหลาย
7. กระตุ้นให้ผู้เรียนเข้าใจว่าการประเมินผลที่มีคุณค่า คือการประเมินตนเองของผู้เรียน
การประยุกต์ในการจัดการเรียนรู้
1. ควรจัดการเรียนตามสภาพจริง หรือสภาพที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล
2. ควรจัดการเรียนรู้โดยไม่ยึดติดกับเงื่อนไขหรือข้อจำกัดทางวัฒนธรรมของสังคม
3. ควรจัดการเรียนรู้ตามความต้องการหรือเสียงเรียกของผ้เรียน
4. ควรจัดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งมีค่า
5. ควรเป็นคนร่าเริงและสนุกสนานในทุกสถานกการณ์
6. ควรให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากลักษณะภายใน หรือความต้องการของตน
7. ควรใส่ว่าความต้องการขั้นพื้นฐานของเรียนได้รับการสนองแล้วหรือยัง
8. ควรกระตุ้นให้ผู้เรียนเห็นคุณค่าของความงามและสิ่งที่ดีที่เกิดขึ้นในชีวิต
9. ควรตระหนักว่าการควบคุมดูแลนักเรียนเป็นสิ่งที่ดี แต่การปล่อยปะละเลยต่อผู้เรียนเป็นสิ่งที่ไม่ดีไม่ควรปฏิบัติ เพราะการควบคุมดูแลผู้เรียนจะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้เรียน
10. ควรฝึกให้ผู้เรียนมองข้ามปัญหาเล็กน้อย แต่ควรฝึกให้จริงจังต่อการแก้ปัญหาที่จะนำมาซึ่งความไม่ยุติธรรม ความเจ็บปวด และถึงแก่ชีวิต
11. ควรทำตัวเป็นผู้เลือกที่ดีด้วยการฝึกสร้างทางเลือกอย่างหลากหลาย แล้วนำทางเลือกไปใช้ในการดำรงชีวิต
สรุป ทฤษฎีมนุษย์นิยมให้ความสำคัญต่อผู้เรียนในลักษณะของการให้อิสระในการเรียนรู้ คือการเรียนรู้ควรเกิดจากความต้องการ หรือเสียงเรียกร้องภายในตัวผู้เรียน การเรียนรู้จะเกิดได้ดีภายใต้บรรยากาศที่สบายไม่มีสิ่งคุกคามภายนอก และครูผู้สอนจะทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยความสะดวกที่จะคอยส่งเสริมสนับสนุน และควบคุมดูแลให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์บนพื้นฐานของความต้องการทั้ง 5 ขั้น ซึ่งครูควรเอาใจใส่ความต้องการขั้นพื้นฐานของผู้เรียนได้รับการตอบสนองแล้วหรือยัง เพื่อให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองไปสู่ขั้นที่สูงจนเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบในที่สุด